จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

หิมะ

การเดินทาง ของนักเดินทาง

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562

พระศิวะ

พระศิวะ
พระศิวะ หรือ พระอิศวร (สันสกฤต: शिव; อังกฤษ: Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ได้แก่ พระพรหมและพระวิษณุ)

ประติมากรรมนูนต่ำกึ่งลอยองค์ของพระศิวะและพระปารวตีประดับโคปุรัม ประเทศอินเดีย

ประติมากรรมนูนต่ำกึ่งลอยองค์ของพระศิวะและพระแม่ปารวตีประดับโคปุรัม ประเทศอินเดีย
พระศิวะ ทรงมีพระลักษณะมีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาลย์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่นและแม่คงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตรที่สาม (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่จะบันดาลให้ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่[7]

ทรงมีพระพาหนะคือโคนนทิ (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีพระชายาคือพระปารวตี มีโอรส 2 องค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ทรงประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี

พระศิวะมีตำนานอันเป็นต้นแบบการร่ายรำของเทพเจ้า ทำให้ทรงมีพระนามว่า "พระนาฏราช" (พระนาฏรายัร) เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน

นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" และมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน"[8] และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย [9]

นอกจากนี้ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้พิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก[10] ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ[11]

ในความเชื่อแบบศรีลังกานั้นเชื่อว่าพระศิวะมีพระพาหนะเป็นนกยูง และทรงเป็นเทพเจ้าองค์ปกปักษ์รักษาพระพุทธศาสน



ขอขขอบคุณ : https://th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น